Mega We Care Fish Oil 1000 มก. น้ำมันปลาเพื่อบำรุงสมองและหลอดเลือดหัวใจ ราคาถูกกว่าท้องตลาด!!
กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ถือว่าเป็นสารอาหารที่สำคัญยิ่งต่อร่างกาย โดยเฉพาะกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ซึ่งส่วนใหญ่กรดไขมันชนิดนี้พบได้ในไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันปลา ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งจากธรรมชาติที่พบมากและมีคุณภาพดี ปัจจุบันความสนใจทางการแพทย์เกี่ยวกับกรดไขมันโอเมก้า-3 จากน้ำมันปลาเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มจากข้อมูลที่ว่า ชาวเอสกิโมมีเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตันต่ำ เมื่อศึกษาถึงโภชนาการ จึงพบว่าอาหารที่ชาวเอสกิโมรับประทานในชีวิตประจำวัน คือ ปลาและแมวน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีโอเมก้า-3 ปริมาณสูง ปัจจุบันจึงมีการยืนยันทางการแพทย์ถึงประโยชน์ที่สำคัญของกรดไขมันโอเมก้า-3 ต่อร่างกายในการลดความเสี่ยงหรือป้องกันการเกิดโรคต่างๆ เช่น
+ โรคหัวใจและสมองขาดเลือด
+ โช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ลดความดันโลหิต
+ โช่วยบรรเทาอาการอักเสบของข้อเสื่อม ข้อรูมาตอยด์
+ โช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความเสื่อมของสมอง โรคซึมเศร้า และบำรุงสายตา
+ โบรรเทาอาการของโรคผิวหนังบางชนิด เช่น สะเก็ดเงิน โรคเรื้อนกวาง
+ โป้องกันหรือบรรเทาโรคหอบหืด
+ โปวดไมเกรน
+ โเบาหวาน
น้ำมันปลาเป็นสารอาหารประเภทไขมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันในกลุ่ม Omega-3 Polyunsaturated Fatty Acid ซึ่งมีกรดไขมันที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ
EPA (Eicosapentaenoic Acid) กรดไขมันชนิดนี้ มีส่วนช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ป้องกันไขมันอุดตันหลอดเลือด ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุในการเกิดโรคหัวใจและสมองอุดตัน
DHA (Docosahexaenoic Acid) กรดไขมัน DHA มีบทบาทที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาสมองและสายตา ช่วยเสริมสร้างและป้องกันความเสื่อมของสมอง การเรียนรู้ และความจำ รวมถึงระบบสายตา ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
[น้ำมันปลา.....สำคัญต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด]
ป้องกันโรคหัวใจและสมองขาดเลือด น้ำมันปลาจะช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและลดไขมันในเลือด จึงช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจที่รับประทานน้ำมันปลาวันละ 3,000 มิลลิกรัม ร่วมกับวิตามินอีธรรมชาติ 200-400 ยูนิต สามารถลดอัตราการตายเนื่องจากหัวใจล้มเหลวลง 15% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับประทานน้ำมันปลา
[ภาวะไขมันอุดตันที่หลอดเลือด จนอาจทำให้เกิดการขาดเลือดของ หัวใจและสมอง]
ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน กรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลา เป็นสารตั้งต้นของสารกลุ่มไอโคซานอยด์ (Eicosanoids) อันได้แก่ พรอสตาแกลนดิน-3 (Prostaglandins-3) และทรอมบอกแซน-3 (Thromboxan-3) ซึ่งสารกลุ่มนี้จะช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด จึงมีส่วนช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด และช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น ลดการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
ช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูงในเลือด ถือได้ว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญในการก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นโรคที่ได้คร่าชีวิตประชากรโลกปีละหลายแสนคน หรือปีละหลายพันคนสำหรับประชากรไทย ซึ่งจากการที่ได้มีการรวบรวมผลการศึกษาทางการแพทย์เกี่ยวกับภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงและการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของน้ำมันปลา ซึ่งเป็นการรวบรวมการวิจัยตั้งแต่ปี 1990-2006 ดังนี้
ประสิทธิภาพในการลดไขมันชนิดต่างๆ ของน้ำมันปลา (Effect of various pharmacologic
therapies on lipoprotein levels. )
References: Clinical Therapeutics Volume 29, Number 5, 2007
ซึ่งจากผลการวิจัยสรุปว่าน้ำมันปลาจะมีประสิทธิภาพที่ดีในการลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ได้ประมาณ 20%-50% ซึ่งประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาที่ใช้ในการลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ และถึงแม้ว่าผู้ป่วยที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูงถึง 500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร น้ำมันปลาก็ยังเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญ คือ ความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายสามารถใช้ร่วมกับยา ในการลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล สำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงทั้ง 2 ชนิด
ลดความดันโลหิตสูง ผลในการลดความดันโลหิต สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่มาก ซึ่ง John Hopkins Medical School ได้สรุปรวบรวมผลการศึกษาจาก 17 รายงานการศึกษาทางคลีนิค พบว่าการรับประทานน้ำมันปลาประมาณ 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน สามารถช่วยลดความดันล่าง (Diastolic pressure) ได้ 3.5 มิลลิเมตร และความดันบน (Systolic pressure) ได้ถึง 5.5 มิลลิเมตรปรอท เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า-3ในน้ำมันปลา จะช่วยทำให้หลอดเลือดขยายตัว และป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น จึงมีผลให้ความดันโลหิตลดลง โดยน้ำมันปลาจะไม่มีผลต่อความดันในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ
[น้ำมันปลา.....เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดอาการข้อเสื่อม ข้อรูมาตอยด์]
รายงานเกี่ยวกับน้ำมันปลาต่ออาการข้อเสื่อม (Osteoarthritis) และข้อรูมาตอย์ (Rheumatoid arthritis) พบว่าน้ำมันปลามีผลลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบของข้อ เช่น Interleukin-1, Tumor necrosis factor และ EPA (Eicosapentaenoic Acid) ในน้ำมันปลา ยังเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสาร PGE 3 ซึ่งช่วยลดอาการอักเสบของข้อ โดยรายงานการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Surgical Neurology ระบุว่าน้ำมันปลาสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดคอ หรือปวดหลังเรื้อรัง โดยทำการศึกษากับผู้ป่วย 250 คน รับประทานน้ำมันปลาวันละ 2.6 กรัม ในช่วง 2 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นลดปริมาณลงเหลือวันละ 1.2 กรัม พบว่าหลังจากรับประทานน้ำมันปลา 75 วัน ผู้ป่วยประมาณ 59% สามารถเลิกรับประทานยาแก้ปวดต่างๆ ผู้ป่วยประมาณ 60% พบว่าอาการปวดหลังและปวดคอลดลง และผู้ป่วยกว่า 88% รู้สึกพึงพอใจกับผลที่ได้รับและยืนยันที่จะรับน้ำมันปลาต่อ
ผลการศึกษาจาก Harvard Medical School ได้ทำการรวบรวมผลการศึกษาจาก 10 การศึกษา ในผู้ป่วยไขข้ออักเสบ 368 ราย ที่รับประทานน้ำมันปลา พบว่าช่วยลดอาการเจ็บและข้อติดตรึงในตอนเช้า
ดังนั้นการรับประทานน้ำมันปลาจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อเสื่อม ข้ออักเสบเรื้อรังเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด แทนที่การรับประทานยาแก้ปวด NASIDs ซึ่งจะมีผลข้างเคียงต่อกระเพาะอาหาร ตับ และไตค่อนข้างมาก
[น้ำมันปลา.....สำคัญต่อระบบสมอง]
ลดเซลล์สมองเสื่อม ป้องกันโรคสมองเสื่อม จากการศึกษาพบว่า 40% ของกรดไขมันในสมอง และ 60% ของกรดไขมันในประสาทตา คือ DHA (Docosahexaenoic Acid) ทำให้กรดไขมัน DHA ในน้ำมันปลา มีบทบาทที่สำคัญและจำเป็นต่อสมอง ผลวิจัยทางการแพทย์จากมหาวิทยาลัย UCLA ของอเมริกา พบว่าการรับประทานน้ำมันปลาช่วยป้องกันสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ (Azheimer) ได้ เนื่องจากการศึกษาเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ในคนสูงอายุกว่า 1,000 คน เป็นเวลา 10 ปี พบว่าระดับ DHA ที่ลดต่ำลงก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม
และยังพบว่าสำหรับคนไข้อัลไซเมอร์ DHA จะช่วยเพิ่มสาร LH11ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นตัวช่วยลดการเกิดการสร้าง plaques (เส้นใย หรือ ไฟบริล) ในสมอง ซึ่งเป็นตัวการที่ทำลายใยประสาทส่วนความจำ คนสูงอายุที่มีการสร้างสารนี้เยอะจะทำให้ความจำเสื่อม และหลงลืม
ลดภาวะซึมเศร้า จากการวิจัยพบว่าผู้ที่บริโภคปลาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง มีอัตาเป็นโรคซึมเศร้าต่ำ เพราะสมดุลของกรดไขมันในร่างกายมีผลต่อความรุนแรงในการเกิดโรคซึมเศร้า คนที่มีระดับของกรดไขมันโอเมก้า-3 ต่ำ และโอเมก้า-6 สูง จะมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าปกติ ซึ่งการรักษาคนไข้ซึมเศร้าในโรงพยาบาลพบว่า DHA ให้ผลในการรักษาอย่างมีนัยสำคัญ
น้ำมันปลา.....หลากหลายประโยชน์ต่อสุขภาพ
เบาหวาน เบาหวานที่พบบ่อย คือ เบาหวานชนิดที่สองที่มักพบในผู้ใหญ่ที่อ้วน ซึ่งนักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์ค้นพบว่า กรดไขมัน EPA ในน้ำมันปลา จะช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน
ปวดไมเกรน กรดไขมัน EPA ในน้ำมันปลา จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารพรอสตาแกลนดิน และลดการหลั่งสารซีโลโทนิน ทำให้การเกาะตัวของเกร็ดเลือดลดลงในระยะที่มีการบีบตัวของหลอดเลือดในสมองลจึงมีส่วนช่วยลดอาการไมเกรนได้
หอบหืด การรับประทานน้ำมันปลาจะช่วยลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ที่เป็นตัวการสำคัญให้เกิดอาการของหอบหืดขึ้น คือ สารลิวโคไตรอิน และพรอสตาแกลนดิน ดังนั้นการรับประทานนักมันปลาอย่างต่อเนื่องจากช่วยบรรเทาอาการหอบหืดได้
[น้ำมันปลาที่ดีต้องปลอดสารพิษ คือ น้ำมันปลาคุณภาพยา]
ปัจจัยที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงสำหรับการเลือกผลิตภัณฑ์น้ำมันปลา คือ คุณภาพและความปลอดภัย แต่กลับพบว่า น้ำมันปลาคุณภาพต่ำส่วนใหญ่ที่ผลิตภายใต้มาตรฐานอาหารทั่วไป มักพบสารปนเปื้อนจำพวกตะกั่ว ปรอท สารหนู และยาฆ่าแมลง เจือปนมาจากขั้นตอนการผลิต เนื่องจากความเข้มงวดของการควบคุมคุณภาพของน้ำมันปลาในประเทศไทย และบางประเทศทั่วโลก อาจยังไม่เข้มงวดมากนัก เพราะผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาจัดอยู่ในสินค้าประเภทกลุ่มอาหารทั่วไป ดังนั้นผู้ผลิตที่ผลิตน้ำมันปลาภายใต้มาตรฐานยาระดับสากล ที่มีการควบคุมคุณภาพการผลิต และคัดสรรบุคลากรทางการแพทย์เพื่อช่วยคัดกรองผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ จึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค และเนื่องจากน้ำมันปลาที่สกัดจากปลาต่างสายพันธุ์ จะให้ปริมาณของ EPA และ DHA ที่ต่างกัน ควรเลือกน้ำมันปลาที่สกัดจากปลาทะเลน้ำลึกในเขตหนาวจากไอซฺแลนด์ ซึ่งมั่นใจได้ว่า มีปริมาณโอเมก้า-3 สูง จะประกอบด้วย EPA 18% และ DHA 12% ซึ่งองค์การอนามัยโลก แนะนำให้รับประทาน 0.3-0.5 กรัม ของ EPA + DHA ซึ่งเพียงพอ และมีผู้ผลิตบางรายผลิตน้ำมันปลาที่มี % EPA และ DHA สูงขึ้นในสัดส่วน EPA 30% และ DHA 20% ซึ่งสะดวกในการรับประทานมากขึ้น แต่ผู้บริโภคก็อาจต้องจ่ายเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคควรพิจารณาก่อนการตัดสินใจซื้อ
---
เอกสารอ้างอิง
Robert Ob, Practical Applications of Fish Oil (Omega-3 Fatty acid) in Pharmacy care. JABFP, Vol. 18 No.1, Jan-Feb 2005, pp. 28-36
Connor, William E. Importance of n-3 fatty acids in health and disease. American Journal of Clinical Nutrition, Vol.71 (suppl), January 2000, pp.171S-75S
Pual J Nestel. Fish oil and cardiovascular disease: lipids and arterial function. Am. J Clin Nutr 2000, 71 (suppl) : 228S-31S.
Eritsland, Jan Safety considerations of polyunsaturated fatty acids. American Journal of Clinical Nutrition, Vol. 71 (suppl), January 2000, pp. 197S-201S
Appel, Lawrence J., et al. Does supplementation of diet with fish oil reduce blood pressure? Archieves of Internal Medicine, Vol 153, June 28, 1993, pp. 1429-38
Jacobson TA, Miller M, Schaefer EJ. Hypertriglyceridemia and cardiovascular risk reduction. Clinical Therapeutics Volume 29, Number 5, 2007
Ma QL, Teter B, et al. Omega-3 fatty acid docosahexaenoic acid increases SorLA/LR11, a sorting protein with reduced expression in sporadic Alzheimer's disease (AD): relevance to AD prevention. The journal of neuroscience 2007 Dec 26;27(52):14299-307
Maroon, J. Surgical Neurology, April 2006: vol 65: pp 326-331
Artemis P. Simopoulos. Omega-3 Fatty Acids in Inflammation and Autoimmune Diseases. Journal of American College of Nutrition , Vol 21, No.6, 2002, 495-505
Fortin, Pual R., et al. Validation of a meta-analysis: the effect of fish oil in rheumatoid arthritis. Journal of Clinical Epidemiology, Vol. 48, 1995, pp. 1379-90
ราคา: | 318 บาท | ต้องการ: | ขาย |
ติดต่อ: | SiambodycareCenter | อีเมล์: | |
โทรศัพย์: | 0880196700 | IP Address: | 58.11.86.166 |
มือถือ: | 0880196700 | จังหวัด: | กรุงเทพมหานคร |
คำค้น: | น้ำมันปลา | โอเมก้า | fish | สมอง | หัวใจ | หลอดเลือด | เมก้า | mega | care | |
ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ
[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]
ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)
รูป | รายละเอียด | ราคา | |
350 บาท | |||
350 บาท | |||
550 บาท | |||
950 บาท | |||
370 | |||
185 บาท | |||
350 บาท | |||
790 บาท | |||
400 บาท | |||
350 บาท | |||
350 บาท | |||
120 บาท | |||
180 บาท | |||
0 บาท | |||
0 บาท | |||
0 บาท | |||
0 บาท | |||
380 บาท |