นายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ ร่วมรณรงค์โครงการ ง่วงอย่าขับ 76 จังหวัดทั่วไทย
บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด ร่วมกับทางตำรวจทางหลวงและนายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานกรรมการทุนง่วงอย่าขับ จัดงานใหญ่รณรงค์ “ง่วงอย่าขับ 76 จังหวัด ” กรุงเทพฯ: 8 เมษายน 2551 บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด จับมือกับพันธมิตรร่วมภาครัฐ กองบังคับการตำรวจ ทางหลวง จัดงานใหญ่โครงการรณรงค์ “ง่วงอย่าขับ 76 จังหวัดทั่วไทย “ โครงการรณรงค์เป็นนส่วนหนึ่งของกิจกรรมสัปดาห์รณรงค์ของ “ง่วงอย่าขับ ” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครบรอบ 100 วัน อุบัติเหตุจากง่วงหลับในอาจถึงตายได้ทันที หลับในขณะขับรถเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นปรากฏการณ์ที่พบบ่อย จากการศึกษาของมูลนิธินอนหลับแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า มากถึงหนึ่งในสามของคนอเมริกัน เคยหลับในขณะขับรถ ทุนง่วงอย่าขับ มูลนิธิรามาธิบดี ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้สำรวจคนไทยโดยใช้แบบสอบถามคนขับรถหลายประเภททั้งคนขี่จักรยานยนต์ คนขับรถเก๋ง รถบรรทุกน้ำมัน รถทัวร์ รถโดยสารบขส. และ ขสมก. พบว่า ร้อยละ 28-53 เคยหลับในขณะขับรถ หลับในเป็นการหลับสั้นๆ แวบเดียวไม่เกิน 10 วินาที เป็นการหลับตื้นๆ ปลุกตื่นได้ง่ายหรืออาจสะดุ้งตื่นเอง ตายังอาจเปิดอยู่ขณะหลับใน หลับในอันตรายมาก เพียงหลับ 4 วินาที ถ้ารถวิ่งด้วยความเร็ว 90 กม/ชม รถจะวิ่งต่อไปอีก 100 เมตร โดยที่ไม่มีคนควบคุมรถ ลักษณะการชนจะรุนแรงมาก เพราะคนขับไม่ได้หักหลบหรือเหยียบเบรก ทำให้บาดเจ็บสาหัส หรือเสียชีวิตได้ทันที หลับในเป็นสาเหตุสำคัญอย่างน้อยร้อยละ 20 ของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรของประเทศที่เจริญแล้ว แต่ในประเทศไทย รายงานอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2550 มีอุบัติเหตุจากการหลับในเพียง 500 กว่าราย หรือคิดเป็นร้อยละ 0.8 ของอุบัติเหตุทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ตัวเลขนี้เองทำให้ภาครัฐมองข้ามความสำคัญของการหลับใน ไม่มีหน่วยงานใดออกมาย้ำเตือนประชาชนให้ตระหนักถึงอันตรายและวิธีป้องกันการหลับในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงรับทุนง่วงอย่าขับฯไว้ในพระอุปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2548 ทรงห่วงใยคนที่ง่วงและฝืนขับแล้วเกิดหลับใน ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุต่อตัวเองและผู้อื่น ทรงมีรับสั่งให้ทุนง่วงอย่าขับฯประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อทุกประเภทให้คนไทยตระหนักถึงอันตรายของการหลับในและบอกถึงวิธีการป้องกันและแก้ไข หลับในเกิดขึ้นได้จาก 4 สาเหตุใหญ่ๆ 1. อดนอน นอนไม่พอ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด 2. ยาที่ทำให้ง่วง เช่นยาแก้หวัด ยาแก้ภูมิแพ้ 3. แอลกอฮอล์ 4. โรคประจำตัวที่นอนเท่าไรก็ยังง่วง เช่นโรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ หลับในไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ไม่ได้เกิดขึ้นทันที จะมีอาการง่วงเป็นสัญญาณเตือนมาก่อนเสมอ ถ้าคนขับเพิกเฉยไม่สนใจทนฝืนขับต่อไป ความง่วงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเกิดการหลับใน ไม่มีเครื่องมืออะไรจะตรวจวัดความง่วงได้ดีเท่ากับความรู้สึกของตนเอง คนขับต้องหมั่นถามตัวเองว่าง่วงหรือยังเป็นระยะๆ วิธีการป้องกันการหลับในก่อนจะขับรถ 1. ให้ความสำคัญของการนอนหลับให้เพียงพอ 2. งดกินยาที่ทำให้ง่วง 3. งดดื่มแอลกอฮอล์คืนก่อนเดินทาง 4. ถ้าสงสัยว่ามีโรคประจำตัวที่ทำให้ง่วง ต้องปรึกษาแพทย์ เมื่อง่วงน้อยๆ หรือเริ่มง่วงขณะขับรถ 1. หาของคบเคี้ยวกินเล่น 2. ร้องเพลงดังๆ 3. พูดคุย กับคนที่นั่งมาด้วย 4. ดื่มกาแฟ 5. หยุดพักรถบ่อยๆ แต่ถ้าง่วงจัด โดยสังเกตจากการหาวนอนไม่หยุด ลืมตาไม่ขึ้น บังคับรถให้อยู่ในเลนไม่ได้ จิตใจล่องลอย ไม่มีสมาธิ จำไม่ได้ว่าเพิ่งขับผ่านอะไรมา 1. ต้องรีบจอดในที่ปลอดภัย 2. ดื่มกาแฟ 3. แล้วงีบหลับ 10-15 นาที 4. เมื่อตื่นดีแล้วจึงค่อยขับต่อ ถ้าทุกคนปฏิบัติเช่นนี้ อุบัติเหตุที่เกิดจากการหลับในก็จะไม่เกิดขึ้น หากการรณรงค์ง่วงอย่าขับได้ผลจะช่วยลดจำนวนคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุอย่างน้อยปีละ 1 พันคน และประหยัดเงินที่สูญเสียปีละ 1 หมื่นล้านบาท
Public Relations Head Office :
For more information, please contact:
ข้อมูลประชาสัมพันธ์ติดต่อ : The Eye D Co.,Ltd.
Tel : 02-728-0763-4 Fax : 02-728-7521
Hotline : 08-1300-3030
ราคา: | ไม่ระบุ | ต้องการ: | รับจ้าง |
ติดต่อ: | ประชาสัมพันธ์ | อีเมล์: | |
โทรศัพย์: | IP Address: | 124.120.27.91 | |
คำค้น: | นายแพทย์มนูญ | ลีเชวงวงศ์ | ร่วมรณรงค์โครงการ | ง่วงอย่าขับ | จังหวัดทั่วไทย | |
ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ
[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]
ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)
รูป | รายละเอียด | ราคา | |
300,000 บาท | |||
300,000 บาท | |||
888,888 บาท | |||
999,999 บาท | |||
300,000 บาท | |||
480,000 บาท | |||
320,000 บาท | |||
555,555 บาท | |||
999,999 บาท | |||
380,000 บาท | |||
259,000 บาท | |||
781,000 บาท | |||
200,000 บาท | |||
300,000 บาท | |||
200,000 บาท | |||
300,000 บาท | |||
300,000 บาท |