สอนขับรถ ครูเฮงสอนขับรถบ้าน ให้พิสูจน์ก่อน 2ช.ม. พอใจค่อยเรียน สอนขับรถยนต์ สอนขับรถเก๋ง สอนขับรถกระบะ สอนขับรถตู้
คู่มือการฝึกขับรถยนต์เบื้องต้น
การขับรถคือ
การควบคุม และบังคับรถให้ได้ใน ทุกอิริยาบถ ทุกระดับความเร็ว ตามความต้องการของผู้ขับ
ก่อนจะบังคับต้องเข้าใจหน้าที่และการทำงานของกลไกแต่ละตัวก่อน
เมื่อเข้าใจแล้วจึงจะบังคับได้อย่างที่ใจเราต้องการ
รถเกียร์ธรรมดา หรือเกียร์กระปุก จะมีกลไกบังคับอยู่ 5 ตัว คือ
1. เกียร์
เกียร์ทำหน้าที่
1. ตัดต่อระหว่างล้อกับเครื่อง ( ปลด และเข้าเกียร์ )
2. เพิ่มหรือลดกำลังของรถ ( เกียร์ต่ำเพิ่ม เกียร์สูงลด )
3. เพิ่มหรือลดรอบของล้อ ( เกียร์สูงเพิ่ม เกียร์ต่ำลด )
ความเร็วของล้อที่สัมพันธ์กับเครื่องยนต์ *โดยประมาณ
ขณะที่เครื่องยนต์หมุน 4 รอบ
เกียร์ 1 ล้อจะหมุน 1 รอบ
เกียร์ 2 ล้อจะหมุน 2 รอบ
เกียร์ 3 ล้อจะหมุน 3 รอบ
เกียร์ 4 ล้อจะหมุน 4 รอบ (ล้อหมุนเท่ากับเครื่อง)
เกียร์ 5 ล้อจะหมุน 5 รอบ (ล้อหมุนเร็วกว่าเครื่อง)
ความเร็วของรถที่สัมพันธ์กับเครื่องยนต์ *โดยประมาณ
เมื่อเราเร่งเครื่องที่ความเร็ว1500รอบ
เกียร์ 1 ความเร็ว 10 กม./ชม.
เกียร์ 2 ความเร็ว 20 กม./ ชม.
เกียร์ 3 ความเร็ว 30 กม./ชม.
เกียร์ 4 ความเร็ว 40 กม./ชม.
เกียร์ 5 ความเร็ว 50 กม./ชม.
เกียร์ยิ่งสูงรถยิ่งวิ่งเร็วแต่กำลังจะน้อย และเกียร์ต่ำรถวิ่งช้าแต่กำลังจะมาก เกียร์ต่ำถ้าวิ่งเร็วเรียกว่า ลากเกียร์ การลากเกียร์ด้วยระยะทางยาวๆ เครื่องยนต์จะเกิดความร้อนสูง ทำให้เกิดการสึกหรอเร็ว
*คำว่าโดยประมาณเป็นการใช้ตัวเลขเพื่อให้เกิดความเข้าใจ มิใช่ตัวเลขทางหลักวิชา
ถ้าเป็นรถเกียร์ออโต้ ที่คันเกียร์จะมีอักษรภาษาอังกฤษเรียงตามลำดับดังนี้ P R N - - -
P คือจอด ( เหมือนเกียร์ว่าง แต่ใช้ในกรณีที่ผู้ขับลงจากรถ )
R คือเกียร์ถอย
N คือเกียร์ว่าง
ถัดจากตำแหน่งเกียร์ว่างจะมีตัวอักษรไม่เหมือนกันในรถแต่ละรุ่น แต่ให้เข้าใจว่าเป็นเกียร์เดินหน้า ( ไม่จำกัดความเร็วและระยะทาง )
ส่วนอีกสองตำแหน่งที่เหลือให้ใช้ในกรณีที่รถมีกำลังไม่พอจะขึ้นที่สูง และในตำแหน่งสุดท้ายยังใช้สำหรับการลากรถคันอื่นด้วย
2. **คลัตช์ ( แป้นซ้ายสุดที่เท้า บังคับด้วยเท้าซ้าย )
คลัตช์ก็ทำหน้าที่ตัดต่อระหว่างล้อกับเครื่องคล้ายกับเกียร์ แต่การตัดต่อจะมีลักษณะต่างกัน กล่าวคือเกียร์จะตัดต่อในลักษณะขบกัน หรือสวมเข้าหากัน แต่คลัตช์จะตัดต่อในลักษณะประกบกัน ในขณะที่เราเหยียบคลัตช์เข้าไปจนสุด ( แป้นคลัตช์ชิดกับตัวถังรถ ) คลัตช์จะแยกออกจากกัน เป็นการแยกล้อออกจากเครื่อง เมื่อเราปล่อยคลัตช์จนสุด คลัตช์ก็จะประกบตัวจับกันจนแน่น เป็นการต่อล้อเข้ากับเครื่อง
**สำหรับรถเกียร์ออโต้จะไม่มีคลัตช์
3. เบรก ( แป้นกลางที่เท้า บังคับด้วยเท้าขวา )
เบรกทำหน้าที่ชะลอรถ และหยุดรถ ในกรณีที่รถมีความเร็วสูงกว่า30กม./ชม. ( ความเร็วจากเกียร์ 3 ขึ้นไป ) เราสามารถเหยียบเบรกเพียงอย่างเดียวเพื่อชะลอรถ แต่เมื่อความเร็วลดต่ำกว่า30กม./ชม. จะต้อง เหยียบครัชให้สุด ก่อนเหยียบเบรก ( เพื่อป้องกันเครื่องดับ )
การหยุดรถในขณะที่รถมีความเร็วสูง ต้องชะลอรถก่อนหยุด ( ต้องรู้ระยะของการหยุด แล้วค่อยๆเหยียบเบรกลงช้าๆจนกว่ารถจะหยุด ) ห้ามเหยียบเบรกจนสุดเพื่อหยุดรถทันที ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน เพราะจะทำให้รถเสียการทรงตัว และอาจเกิดอุบัติเหตุได้
ถ้าเป็นรถเกียร์ออโต้ สามารถเหยียบเบรกจนรถหยุดได้โดยไม่ทำให้เครื่องดับ
4. คันเร่ง ( แป้นขวาสุดที่เท้า บังคับด้วยเท้าขวา )
คันเร่งทำหน้าที่
1.เพิ่มรอบของเครื่องยนต์ เป็นการเพิ่มความเร็วของรถ
2.เพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ เป็นการเพิ่มกำลังของรถ
การเหยียบคันเร่งต้องเหยียบจากน้อยไปหามาก จนกว่าจะได้กำลังหรือความเร็วที่ต้องการแล้วค้างไว้ อย่าเหยียบแล้วปล่อยทันที เพราะรถจะกระชากกลับหรือเสียกำลัง
5.พวงมาลัย
พวงมาลัยทำหน้าที่ควบคุมทิศทางของรถ ตามที่เราต้องการ
เมื่อ เข้าเกียร์เดินหน้า ถ้าต้องการให้ หัวรถ เลี้ยวไปทางใด ให้หมุนพวงมาลัยไปทางด้านที่ต้องการ
เมื่อ เข้าเกียร์ถอย ถ้าต้องการให้ ท้ายรถ ไปทางใด ก็ ให้หมุนพวงมาลัยไปทางด้านที่ต้องการเช่นกัน แต่ถ้าต้องการให้ หัวรถ ไปทางใด ให้หมุนพวงมาลัย ตรงกันข้าม กับด้านที่ต้องการ เช่น ถ้าจะให้หัวรถไปทางซ้าย ให้หมุนพวงมาลัยมาทางขวา
การเตรียมพร้อมก่อนการขับ
เมื่อเราขึ้นนั่งประจำที่คนขับ ก่อนจะ เสียบกุญแจ เพื่อติดเครื่องยนต์ ต้องตรวจดูว่าคันเกียร์อยู่ในตำแหน่ง เกียร์ว่าง หรือไม่ โดยการกดหาสปริงเกียร์ถอย เมื่อแน่ใจว่า เกียร์ว่าง แล้ว จึงเสียบกุญแจเพื่อสตาร์ทเครื่อง ( ถ้าเกียร์ไม่ว่างเมื่อเครื่องติดรถจะพุ่งทันที ) และ ก่อนจะบิดกุญแจ เพื่อสตาร์ทเครื่องต้องดูอีกว่า สวิทช์แอร์ต้องอยู่ในตำแหน่งปิด เพื่อให้มอเตอร์สตาร์ทได้รับกำลังไฟเต็มที่ จะทำให้เครื่องยนต์ติดง่าย แล้วจึงบิดกุญแจ
การบิดกุญแจจะต้องบิดไปทีละจังหวะจนถึง จังหวะสุดท้าย จะมีไฟสีแดงเป็นรูปแบตเตอรี่ และรูปกาน้ำมันเครื่อง หรือไฟสีแดงที่เป็นรูปต่างๆ ไฟดังกล่าวเมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วจะต้องดับทุกดวง ถ้าไม่ดับแสดงว่ารถมีความผิดปกติ ต้องรีบดับเครื่องยนต์และหาสาเหตุให้พบ และใน จังหวะสุดท้าย นี้ถ้าบิดกุญแจต่อ จะมีสปริง ให้บิดกุญแจจนสุดแล้วปล่อยทันที เครื่องยนต์ก็จะติด ไม่ต้องบิดกลับเพราะมือจะช้ากว่าสปริง ถ้าเราบิดกุญแจกลับเองจะเรียกว่า แช่กุญแจ หากทำบ่อยๆเครื่องจะติดยากขึ้นเรื่อยๆ และมีผลทำให้ระบบไฟของรถผิดปกติได้
ในขณะสตาร์ทไม่ควรเหยียบคันเร่ง เพราะจะมีผลทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงท่วม เครื่องยนต์อาจติดยาก เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วจึงเปิดสวิทช์แอร์ แล้วปรับเบาะที่นั่ง
การปรับเบาะที่นั่ง
ในกรณีที่เป็นรถเกียร์ธรรมดา ( เกียร์กระปุก ) การปรับเบาะที่นั่งให้เหมาะสมกับการขับ ต้องนั่งให้ชิดพนักพิงแล้วใช้อุ้งเท้าซ้ายเหยียบแป้นคลัตช์ให้สุด ( แป้นคลัตช์ติดกับตัวถังรถ ) ถ้าเหยียบไม่สุด ให้ปรับเบาะไปทางด้านหน้าจนสามารถเหยียบจนสุด เมื่อเหยียบสุดแล้วเข่าต้องตึง ถ้าเหยียบสุดแล้วเข่าไม่ตึง ให้ปรับเบาะเลื่อนมาข้างหลัง มิฉะนั้นจะเมื่อยเข่าในขณะขับ จากนั้นให้ปรับกระจกมองข้าง ซ้าย - ขวา ให้เห็นด้านข้างของรถเรา ( เมื่อชะโงกเล็กน้อย ) และปรับกระจกมองหลังให้เห็นกระจกบังลมหลังทั้งบาน จึงคาดเข็มขัดนิรภัย
การขับรถเดินหน้า
เริ่มจากเหยียบคลัตช์ให้สุดแล้วเข้าเกียร์1 ( ต้องเริ่มจากเกียร์1เสมอแม้ว่าจะเป็นรถกระบะที่ไม่ได้บรรทุกสิ่งของก็ตาม ) จากนั้นจึงค่อยๆถอนคลัตช์ (ปล่อยคลัตช์) การถอนคลัตช์ให้งอเข่าดึงส้นเท้าขึ้นมาช้าๆ ( ช้าที่สุดเท่าที่จะช้าได้ ) จนกว่ารถจะเคลื่อนตัว เมื่อรถเคลื่อนให้นิ่งเท้าไว้ ( ยันแป้นคลัตช์ให้นิ่งอยู่กับที่ ) เรียกว่า เลี้ยงคลัตช์ จากนั้นเหยียบคันเร่งเบาๆแล้วค้างไว้ ค่อยๆถอนคลัตช์ขึ้นช้าๆจนกว่าจะสุด เมื่อถอนคลัตช์สุดแล้ว ค่อยเหยียบคันเร่งต่อ แล้วเปลี่ยนเกียร์ให้สูงขึ้นตามความเร็วที่เราต้องการ ( การเปลี่ยนเกียร์ให้สูงขึ้นต้องเปลี่ยน ตามลำดับ คือ จากเกียร์ 1 เป็นเกียร์ 2 จากเกียร์ 2 เป็นเกียร์ 3 จากเกียร์ 3 เป็นเกียร์ 4 และจากเกียร์ 4 เป็นเกียร์ 5 )
ส่วนการลดเกียร์ให้ต่ำลงสามารถลดข้ามเกียร์ได้คือ จากเกียร์ 5 สามารถลดเหลือเกียร์ 1 ได้ ถ้าความเร็วลดเหลือน้อยกว่า 10 กม./ ชม. ( ขึ้นอยู่กับความเร็วในขณะก่อนที่เราจะเข้าเกียร์นั้น ) การลดความเร็วของรถหรือการชะลอรถ ต้องลดจากคันเร่งก่อน แล้วตามด้วยการเบรก ไม่ควรลดเกียร์ต่ำลง เพื่อลดความเร็ว ยกเว้น กรณีเบรกมีปัญหา (เบรกด้วยเกียร์)
การเปลี่ยนเกียร์
ก่อนจะเปลี่ยนเกียร์ทุกครั้งต้องลากเกียร์เพื่อส่งกำลังให้เกียร์ถัดไป การลากเกียร์หมายถึง จังหวะที่เราปล่อยคลัตช์ได้สุด แล้วเหยียบคันเร่งมากๆ เมื่อลากเกียร์แล้ว ต้องปลดเกียร์ว่าง ( ก่อนจะปลดเกียร์ว่างต้องเหยียบคลัตช์ให้สุด แล้วยกหรือปล่อยคันเร่งทันที จากนั้นค่อยปลดคันเกียร์ ) แล้วปล่อยมือให้พ้นจากคันเกียร์ เพื่อให้คันเกียร์ปรับตัวเองเข้าไปอยู่ที่เซ็นเตอร์ จึงค่อยเข้าเกียร์ตามที่ต้องการ
การปลดเกียร์ว่าง
การปลดเกียร์ว่างเป็นการแยกล้อออกจากเครื่อง จึงทำให้เครื่องหมุนแต่ล้อสามารถนิ่งได้ เมื่อหยุดรถ เครื่องจึงไม่ดับ เมื่อเราปลดเกียร์ว่างแล้ว ปล่อยมือให้พ้นจากคันเกียร์ คันเกียร์จะเข้าอยู่ที่เซ็นเตอร์ หรือศูนย์กลางเกียร์ว่าง การเปลี่ยนเกียร์ทุกครั้งจึงควร ปล่อยมือให้พ้นจากคันเกียร์ ในตำแหน่งเกียร์ว่างก่อน แล้วจึงเข้าเกียร์ที่เราต้องการ เพื่อป้องกันการเข้าผิดเกียร์
การขับรถเดินหน้าให้ตรงทาง
การขับรถเดินหน้าให้ตรงทาง ถนนที่มีเส้นแบ่งช่องจราจร หรือ เลนส์ ให้สังเกตจากการมอง มุมหน้ารถด้านขวาแล้วขับให้ทาบเส้น เปรียบเสมือนเราขับชิดกำแพง (เปรียบแนวเส้นเป็นกำแพง) แล้วค่อยปรับให้อยู่กลางเลนส์ โดยการมองกระจกส่องข้างทั้งซ้ายและขวา ให้ท้ายรถทั้งสองข้างห่างจากเส้นเท่ากัน สังเกตความห่างของมุมหน้ารถดังกล่าวอีกครั้ง แล้วขับให้ได้ระยะห่างเท่ากันตลอดทาง
การจอดรถ
การจอดรถชิดขอบทางด้านซ้าย
การจอดรถชิดขอบทางด้านซ้าย ให้มองหน้ารถเป็นเกณฑ์ สังเกตความลึกของหน้ารถกับขอบถนน ทำเครื่องหมายด้วยสายตา แล้วเคลื่อนรถให้ตรงตามเครื่องหมาย อย่ามองกระจกข้าง เพราะล้อหน้าจะเบียดขอบทางก่อน
การถอยรถ
การถอยตรง
การถอยตรงมีสองลักษณะ
ลักษณะที่ 1 การถอยตรงแบบมองกระจกข้าง
ให้สังเกตความห่างของท้ายรถกับขอบถนนในกระจกข้าง แล้วถอยให้ความห่างดังกล่าวเท่ากันสม่ำเสมอตลอดทาง
ลักษณะที่ 2 การถอยตรงแบบมองท้ายรถผ่านกระจกบังลมหลัง
ให้สังเกตความลึกของท้ายรถกับขอบถนน คล้ายกับการเดินหน้า
การถอยจอด
การถอยจอดระหว่างคัน ( ช่องว่างระหว่างรถ คันหน้า และ คันหลัง )
หยุดรถให้คู่ขนานกับรถ คันหน้า ห่างประมาณ 50 ซ.ม. ขับเดินหน้าตรงพร้อมกับมองกระจกข้างซ้าย เมื่อเห็นท้ายรถ คันหน้า ในกระจกจึงหยุดรถ แล้วเข้าเกียร์ถอย มองกระจกข้างซ้าย ถอยรถพร้อมกับหมุนพวงมาลัยไปทางซ้าย ระวังอย่าเบียดท้ายรถ คันหน้า * เมื่อเห็นว่าพ้นจากท้ายรถ คันหน้า แล้ว เปลี่ยนมามองกระจกข้างขวา เคลื่อนรถไปอีกจนกว่าจะเห็นกันชนหน้าทั้งหมดของรถ คันหลัง ในกระจก หยุดรถแล้วคืนพวงมาลัยให้ล้อหน้าตรง** ถอยต่อไปจนกระจกข้างซ้ายถึงท้ายรถ คันหน้า จากนั้นหมุนพวงมาลัยมาทางขวา ( ระวังท้ายรถ คันหน้า ) เมื่อหัวรถพ้นจากท้ายรถ คันหน้า ค่อยหมุนพวงมาลัยให้สุด ( หมุนขวา ) แล้วถอยจนกระทั่งรถตั้งลำตรง หยุดรถแล้วคืนพวงมาลัยให้ตรง เดินหน้าตั้งลำตรง แล้วจอดรถให้อยู่ระหว่างกลางของรถ คันหน้า และ คันหลัง
* เมื่อหมุนพวงมาลัยไปทางซ้ายแล้วถอย หัวรถจะยื่นไปทางขวา ให้ระวังรถที่มาทางด้านขวาด้วย
**ในกรณีที่มีขอบทางสูงกว่าพื้นถนน แต่ต่ำกว่าท้องรถ ให้ถอยจนกระทั่งล้อหลังชนกับขอบทาง หมุนพวงมาลัยไปทางซ้ายให้สุด แล้วขับเดินหน้าจนกระทั่งรถตั้งลำตรง ( ระวังท้ายรถคันหน้า )
หากมีข้อสงสัย หรือต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม ติดต่อ
08-6061-3169 และ 08-7800-6235 (กรุณาโทรทั้งสองหมายเลข เพื่อยืนยันการโทร แล้วรอการติดต่อกลับ ) ครูเฮงเป็นกันเองกับทุกคน โทรหาครูเฮงไม่ต้องเกรงใจ โทรได้ทุกเวลาที่เครื่องเปิด
ราคา: | ไม่ระบุ | ต้องการ: | |
ติดต่อ: | ครูเฮง สอนขับรถบ้าน | อีเมล์: | |
โทรศัพย์: | 02-918-6459 | IP Address: | 124.120.38.236 |
มือถือ: | 08-6061-3169 | จังหวัด: | กรุงเทพมหานคร |
คำค้น: | quotสอนขับรถ | สอนขับรถ ครูเฮง | สอนขับรถบ้าน ครูเฮง | สอนขับรถยนต์ ครูเฮง | เรียนขับรถ ครูเฮงquot | หมุนพวงมาลัยก่อนเข้าเกียร์ | หัดขับรถการหมุนพวงมาลัยสัมพันธ์กับล้อ | นเข้าเกียร์ก่อนหมุนพวงมาลัย | |
ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ
[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]
ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)
รูป | รายละเอียด | ราคา | |
250,000 บาท | |||
777,777 บาท | |||
10 บาท | |||
3,500 บาท | |||
500 บาท | |||
1 บาท | |||
2,990 บาท | |||
777,777 บาท | |||
0 บาท | |||
999,999 บาท | |||
460,000 บาท | |||
0 บาท | |||
1,000,000 บาท | |||
9 บาท | |||
0 บาท | |||
390,000 บาท | |||
950,000 บาท | |||
90,000 บาท | |||
90,000 บาท |