พระกริ่งปวเรศ พระชัยวัฒน์ วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2530
โดย จตุรมิตร ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 3 พ.ย. 2552, 11:53.
พระกริ่งปวเรศ – พระชัยวัฒน์ วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2530 เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช เจริญพระชนมพรรษา 5 รอบนักษัตริย์ ในปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้จำลองแบบ พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองศุภมงคลสมัย และ เทิดพรเกียรติในมหามงคลวโรกาสนี้ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผงจิตรลดา เพื่อบรรจุในองค์พระกริ่งปวเรศที่สร้างใหม่นี้ ทุกองค์ด้วย
วัตถุประสงค์ 1.ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลส่วนพระองค์ 2.ถวายวัดบวรนิเวศวิหาร 3.ถวายวัดญาณสังวรารามมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ 4.เป็นทุนใช้จ่ายในการแกะสลักพระพุทธรูปใหญ่ ณ เขาชีจรรย์ 5.เป็นทุนบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และสมทบทุนส่วนหนึ่งเพื่อสร้างตึก ภปร. 72 ปี สภากาชาดไทย
การดำเนินการ พระกริ่ง –พระชัยวัฒน์ ปวเรศ เป็นพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของวัดบวรนิเวศวิหารโดยตรงอีกรุ่นหนึ่ง ที่สร้างขึ้นในมหาศุภมงคลสมัยพิเศษสุดที่ปวงประชาชาวไทยปลาบปลื้มปิติอย่างยิ่ง ดำเนินการสร้างโดยวัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมทั้งวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหารฯ ด้วยความร่วมมือของกระทรวงมหาดไทย รูปแบบองค์พระ คณะกรรมการดำเนินงานได้ทำการถอดพิมพ์พระกริ่งปวเรศองค์เดิมของวัดบวรนิเวศวิหารเพื่อเป็นแม่พิมพ์พระกริ่งปวเรศที่สร้างใหม่ ส่วนพระชัยวัฒน์ปวเรศ ได้มอบให้ปฏิมากร มนตรี พัฒนางกูร เป็นผู้ปั้นหุ่นขี้ผึ้งเป็นแม่พิมพ์ พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร จัดสร้างโดยกรรมวิธีเททองหล่อพระแบบโบราณของไทยที่สืบทอดกันต่อมาจนปัจจุบัน ทำการเททองหล่อพระทั้งหมดในกำหนดพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร และ ทำการตกแต่งองค์พระทั้งหมดที่วัดบวรนิเวศวิหาร ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของคณะกรรมการ คือ คงสภาผิวองค์พระไว้ตามสภาพเดิมที่เททองหล่อพระเสร็จแล้ว ดังนั้น ผิวองค์พระตามธรรมชาตินี้มีจำนวนหนึ่งที่ผิวไม่เรียบ จึงเห็นสมควรให้ช่างทำการตกแต่งขัดผิวองค์พระใหม่อีกครั้งหนึ่ง มิได้มีการหล่อพระเสริมเพิ่มเติมแต่อย่างใดทั้งสิ้น
โลหะ ทองชนวน และ แผ่นยันต์หล่อพระ พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างด้วยเนื้อนวโลหะ ซึ่งประกอบด้วยทองคำ เงิน ทองแดง สังกะสี ชิน เจ้าน้ำเงิน( แร่ชนิดหนึ่ง) เหล็กละลายตัวบริสุทธิ์ และ ปรอทสะตุ ซึ่งนับเป็นโลหะธาตุต่างๆ ที่สำคัญ และหายาก ตามตำรับวิธีการหล่อพระกริ่งแต่เก่าก่อน เมื่อได้อายุตามควรแล้ว ผิวองค์พระจะมีสีดำ ที่นิยมเรียกว่า “เนื้อกลับ”
ทองชนวนหล่อพระ ประกอบด้วย - ทองชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าที่สำคัญๆ ของวัดบวรนิเวศวิหาร - ทองชนวนหล่อพระพทุธรูป ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร - ทองชนวนหลวงพ่อมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ที่ยังคงเหลืออยู่) - ทองชนวนรุ่นเก่าของวัดสุทัศนเทพวราราม - ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี - ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ภปร. ที่ระลึก 50 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ทองชนวน อื่นๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค แผ่นยันต์พระอาจารย์จำนวนมาก ซึ่งกระทรวงมหาดไทย และ คณะศิษย์ในสมเด็จพระญาณสังวร รวบรวมจากจังหวัดต่างๆ ของประเทศ ประกอบด้วย พระอาจารย์ในปี 2528 จำนวนมากกว่า 108 รูป และ พระอาจารย์มีชื่อเสียงที่มรณภาพไปก่อนแล้วอีกหลายสิบรูป
จำนวนพระที่สร้าง ตามโครงการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร กำหนดสร้าง จำนวน 25,000 ชุด แต่เนื่องจากกำหลดให้ช่างเททองหล่อพระทุกองค์ในพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จึงทำการเททองหล่อพระตามกรรมวิธีแบบโบราณของไทย ซึ่งก็เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดต่อการเททองหล่อพระในกำหนดพิธี ดังนั้น ช่างจึงต้องทำหุ่นองค์พระเพิ่มขึ้นเผื่อเสียไว้ตั้งแต่แรก เพื่อจะได้ทำการเททองหล่อพระทั้งหมดอย่างต่อเนื่องในกำหนดพิธี การเททองหล่อพระในครั้งนี้ ได้พระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ เป็นองค์พระครบทุกองค์ตามจำนวนหุ่นพระที่เตรียมไว้ ปรากฎเป็นอัศจรรย์ประการหนึ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ พระที่เห็นสมควรคงไว้เป็นช่อ มีดังนี้ พระกริ่งปวเรศ จำนวน 15 ช่อ พระชัยวัฒน์ ปวเรศ จำนวน 32 ช่อ
พิธีเททองหล่อพระ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ โปรดเกล้าฯ ทรงรับเชิญเสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อพระกริ่ง และ พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2528 เป็นปฐมมหามงคลฤกษ์ ของพิธีเททองหล่อพระ ทองชนวนจากปฐมพิธีนี้จักเป็นทองชนวนในการหล่อพระสืบต่อไป ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานพิธีการเททองหล่อพระ ณ วัดบวรนิเวศวิหารให้เสร็จทั้งหมดก่อนประกอบพิธีพุทธาภิเษก
ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)
หน้า แสดง - จากทั้งหมด 22499 ประกาศ
|
|
|
|
|
|
|
2,480 บาท |
|
|
|
0 บาท |
|
|
|
|
|
|
|
0 บาท |
|
|
|
650 บาท |
|
|
|
500 บาท |
|
|
|
5,990 บาท |
|
|
|
2,480 บาท |
|
|
|
0 บาท |
|
|
|
2,990 บาท |
|
|
|
|
|
|
|
5,990 บาท |
|
|
|
5,990 บาท |
|
|
|
2,990 บาท |
|
|
|
5,990 บาท |
|
|
|
299 บาท |
|
|
|
35,000 บาท |
|
|
|
3,900 บาท |
|
|
|
5,990 บาท |