หลวงพ่อเขียน ธมฺมรกฺขิโต (เทพเจ้าวาจาสิทธิ์แห่งวัดสำนักขุนเณร)
หลวงพ่อเขียน ธมฺมรกฺขิโต (เทพเจ้าวาจาสิทธิ์แห่งวัดสำนักขุนเณร) หลวงพ่อเขียน มีนามเดิมว่า เสถียร จันทร์แสง เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือน 4 ปีขาล ตรงกับ พ.ศ.
2399 ที่บ้านตลิ่งชัน เมืองเพชรบูรณ์ บิดาชื่อนายทอง มารดาชื่อ นางปลิด บ้านอยู่ติดกับวัดทุ่งเรไร
มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 5 คน เป็นชาย 3 คน เป็นหญิง 2 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3
บิดามารดามีอาชีพทำไร่ทำนา และที่พิเศษคือ บิดาของท่านเป็นคนทรงประจำหมู่บ้าน
ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกกันว่า "สมุนเจ้าพ่อ"
เมื่ออายุได้ 12 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดทุ่งเรไร ได้ศึกษาอักษรโบราณ
พออ่านออกเขียนได้และยังได้ศึกษาอักษรขอมควบคู่ไปกับการเรียนภาษาไทย เล่ากันว่า
หลวงพ่อสามารถท่องปาติโมกข์ได้ในขณะที่ยังเป็นสามเณร พระอาจารย์ที่ทำการสอนวิชาให้จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก
"เสถียร" เป็น "เขียน"
พออายุครบ 20 ปี หลวงพ่อได้อุปสมบทที่วัดภูเขาดิน (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์
จังหวัดเพชรบูรณ์) โดยมีพระอธิการประดิษฐ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการสอน เป็นพระกรรมวาจาจารย์
และพระอธิการทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทได้ 1 พรรษา
ทางโยมบิดาและโยมมารดามารบเร้าให้ลาสิกขาบทเพื่อไปแต่งงานกับหญิงสาวคนหนึ่ง แต่หลวงพ่อได้ปฏิเสธ
เพราะมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะบวชเพื่อถวายชีวิตในพระพุทธศาสนา
ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนได้รับการแต่งตั้งเป็นพระวินัยในสมัยนั้น
แล้วท่านยังได้ไปศึกษาทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน
ท่านได้ออกเดินธุดงค์ล่องลงมาทางทิศตะวันตกของจังหวัดเพชรบูรณ์
พ.ศ. 2477 กำนันขุนพล ซึ่งเป็นญาติกับหลวงพ่อได้นิมนต์ให้จำพรรษาที่วัดวังตะกู (เก่า)
อำเภอบางมูลนาก อยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ถึง 9 พรรษา แล้วได้ลาญาติโยมเดินทางเข้ากรุงเทพฯ
เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม จำพรรษาที่วัดรังษี ได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ
พ.ศ. 2493 หลวงพ่อเขียนได้รับนิมนต์ให้จำพรรษาที่วัดสำนักขุนเณร อำเภอบางมูลนาก
(ปัจจุบันคือ กิ่งอำเภอดงเจริญ) เพื่อต้องการที่จะมาช่วยญาติโยมบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ เช่น ก่อสร้างกุฎิ
4 หลัง สร้างสะพานข้ามคลองบุษบง สร้างหอระฆัง สร้างพระประธานในพระอุโบสถ พร้อมทั้งสร้างอุโบสถหลังใหม่ พ.ศ. 2498 หลวงพ่อเขียน และคณะมรรคนายกได้จัดทำพิธีหล่อรูปเหมือนของท่านขึ้นเป็นรุ่นแรก
นิยมเรียกกันว่า รุ่นเสาร์ 5
พ.ศ. 2502 หลวงพ่อได้จัดงานจุลกฐินขึ้น แล้วทำพิธีหล่อรูปเหมือนของท่านเป็นรุ่นที่ 2
รูปเหมือนที่เซียนพระรู้จักกันดีและได้รับความนิยมสูง บางครั้งก็มีการเรียกชื่อว่า เป็นรูปหล่อหน้าลิง
ในส่วนของเหรียญที่ได้รับความนิยมสูงคือ เหรียญรูปไข่เนื้อเงิน ด้านหน้าเป็นรูปของหลวงพ่อ
ด้านหลังเป็นยันต์ และเหรียญรูปใบเสมา ซึ่งขณะนี้หาไม่ได้แล้ว
แม้ว่าหลวงพ่อเขียนจะไม่มีชื่อเสียงโด่งดังเหมือนกับหลวงพ่อเงิน หลวงพ่อเดิม
แต่หลวงพ่อก็เป็นเกจิอาจารย์รุ่นเดียวกัน รู้จักสนิทสนมกันดีทั้ง 3 รูป
นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างโรงเรียนวัดสำนักขุนเณร (หลวงพ่อเขียนอุทิศ)
เพื่อให้เด็กในหมู่บ้านได้ศึกษาเล่าเรียนโดยใช้เงินบริจาคของประชาชน
และเงินที่ได้จากการจำหน่ายวัตถุมงคลของท่านเป็นเงินจำนวน 300,000 บาท บนที่ดินกำนันเถาว์
ทิพย์ประเสริฐ บริจาค คนทั่วไปในแถบจังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก นครสวรรค์ ลพบุรี ฯลฯ
ต่างเสาะแสวงหาวัตถุมงคลของท่านมากราบไหว้บูชา ป้องกันตัวในเรื่องของการแคล้วคลาด และอยู่ยงคงกระพัน
ในเรื่องอภินิหาร ความศักดิ์สิทธิ์ และวาจาสิทธิ์นั้น เป็นที่เลื่องลือของประชาชนทั่วไป
โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงของท่านไม่ว่าจะเป็นม้า เก้ง กวาง หมี เสือ จระเข้ นกยูง ลิง ชะนี ใครจะทำร้ายไม่ได้
ถ้าใครไปทำร้ายหรือทำอันตรายเข้า ผู้นั้นจะต้องมีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา มีอยู่คราวหนึ่งม้าของหลวงพ่อชื่อ
เขียว วิ่งเข้าไปในนาของชาวบ้าน ชาวบ้านทุบตีจนได้รับบาดเจ็บ ท่านถึงกับเอ่ยว่า
"ใครทำมันคนนั้นก็ต้องเหมือนกับไอ้เขียว"
ในที่สุดบุคคลผู้นั้นก็ถูกทำร้ายทุบตีจนได้รับบาดเจ็บเช่นกัน
ต่อมาหลวงพ่อได้เสกหญ้าและลงอักขระที่เท้าของไอ้เขียว ปรากฎว่าไอ้เขียวเป็นม้าที่ฟันไม่เข้า ยิงไม่ดัง
ในที่สุดมันก็แก่ตายไปเอง
มีอยู่คราวหนึ่งได้มีการทำพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลที่วัดวังตะกู อำเภอบางมูลนาก
ขณะที่หลวงพ่อเขียนกำลังนั่งบริกรรมคาถาแผ่เมตตาอยู่ ได้เกิดฝนตกขึ้นมาอย่างหนัก
ชาวบ้านที่มาร่วมงานต้องหาที่หลบฝนกันจ้าละหวั่น
แต่บริเวณที่หลวงพ่อนั่งบริกรรมคาถาอยู่กลับไม่มีฝนตกแต่อย่างใด หลวงพ่อได้บอกกับญาติโยมว่า
"ฝนมันตกไม่นานหรอกน่า มันตกเพียง 5 นาทีเท่านั้นก็หาย เทวดาเขาให้ฤกษ์ดี"
ปรากฎว่าฝนตกอยู่เพียง 5 นาทีจริง ๆ แล้วก็หยุด เป็นที่น่าอัศจรรย์แก่ผู้เข้าร่วมพิธีเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะจีวรของหลวงพ่อที่ห่มอยู่ไม่เปียกน้ำฝนเลย และวัตถุมงคลชุดนั้นจำหน่ายหมดตั้งแต่ยังไม่ออกจากวัด
ซึ่งคุณวิศาล ภัทรประสิทธิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร
คหบดีแห่งเมืองชาลวันได้นำไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่เคารพนับถือ และแสดงปาฎิหาริย์ทางแคล้วคลาด เมตตามหานิยม
จนมีผู้มาขอจากคุณวิศาลอีกมาก แต่ปัจจุบันได้หมดไปแล้ว คงเหลือไว้เพียงเฉพาะกราบไหว้บูชาเท่านั้น
ในช่วงสุดท้ายของชีวิต หลวงพ่อเขียน ท่านมีโรคประจำตัวคือ โรคหืด เป็นโรคที่ทรมานมาก
แต่หลวงพ่อไม่เคยแสดงอาการให้ปรากฎ ท่านระงับโรคนี้ด้วยขันติธรรม ซึ่งก็ได้ผลและโรคหายไปเอง
แม้แต่แพทย์แผนปัจจุบันก็ยังรู้สึกงงงวยกับอาการโรคที่หลวงพ่อเป็นเช่นกันด้วยวัย 108 ปี
หลวงพ่อได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการที่สงบ เมื่อคืนวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2507 เวลา 23.50 น.
บรรดาลูกศิษย์ที่มีความเคารพนับถือในหลวงพ่อเขียน ได้ร่วมกันสร้างรูปหล่อเท่าองค์จริงขึ้น
นำไปประดิษฐานที่วัดสำนักขุนเณร เพื่อให้ผู้ที่เคารพนับถือได้กราบไหว้บูชา
ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีผู้ที่เคารพนับถือไปกราบไหว้มิได้ขาด นับได้ว่าหลวงพ่อเขียน ธมฺมรกฺขิโต
เป็นพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย และเป็นพระวิปัสสนาจารย์
เป็นพระที่เคร่งครัดในการปฏิบัติกรรมฐาน ตลอดการดำรงชีวิตอยู่เป็นพระที่สมถะง่ายต่อการเป็นอยู่
และถือเคร่งในการฉันอาหารมื้อเดียวเป็นวัตร
นอกจากนี้ยังอบรมสั่งสอนให้ประชาชนประพฤติและปฏิบัติด้วยการสร้างสมบุญบารมีมิได้ขาด พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานเถระ สำนักวัดท่าซุง บอกว่าท่านเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ บูชา 5000 บาท ครับ
ติดต่อ เกรียงศักดิ์ 081-9272486
[email protected]
ราคา: | 5,000 | ต้องการ: | ขาย |
ติดต่อ: | เกรียงศักดิ์ | อีเมล์: | |
โทรศัพย์: | IP Address: | 124.120.196.218 | |
คำค้น: | หลวงพ่อเขียน อำเภอบางมูลนาก | หลวงพ่อเขียน วัด อำเภอบางมูลนาก | หลวงพ่อเขียนพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ | พระอรหันต์ ปฏิสัมภิทาญาณ | หลวงพ่อเขียน ธมฺมรกฺขิโต รุ่นสมณศักดิ์เสาร์5 2536 | หลวงพ่อเขียน รุ่นสมณศักดิ์เสาร์5 | เหรียญหลวงปู่เขียน วัดทุ่งเรไร ปี36 | คาถากล่าวบูชาหลวงปู่เขียนพิจิตร | หลวงพ่อเขียน วัดสำนักขุนเณร รุ่นรวยรวย | |
ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ
[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]
ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)
รูป | รายละเอียด | ราคา | |
1,000 บาท | |||
2,600 บาท | |||
1000-2700 | |||
700 บาท | |||
359 บาท | |||
- | |||
- | |||
290 บาท | |||
359 บาท | |||
380 บาท | |||
1,400 บาท | |||
2,200 บาท | |||
1,500 บาท | |||
2,050 บาท | |||
2,500 บาท | |||
6,000 บาท | |||
9x,xxx.- | |||
8 บาท | |||
1,500 บาท |