พลูคาว” สมุนไพรพื้นบ้านมากประโยชน์ ช่วยต้านเชื้อจุลินทรีย์

หน้าแรก » อาหาร และ สุขภาพ » อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ

พลูคาว” สมุนไพรพื้นบ้านมากประโยชน์ ช่วยต้านเชื้อจุลินทรีย์




พลูคาว” สมุนไพรพื้นบ้านมากประโยชน์ ช่วยต้านเชื้อจุลินทรีย์ แก้ปอดบวม ปอดอักเสบ โรคบิด โรคผิวหนัง ลดไอได้XML:NAMESPACE PREFIX = O />             พลูคาว เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชียตั้งแต่แถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม รวมทั้งไทยและญี่ปุ่น พลูคาวเป็นพันธุ์ไม้ที่รู้จักกันดีของทางภาคเหนือของไทย เนื่องจากลักษณะต้นที่มีกลิ่นคาวจึงมีชื่อเรียกกันในท้องถิ่นว่าผักคาวตองหรือพลูคาว             มีชื่อที่เรียกตามท้องถิ่นต่างๆคือ ภาคเหนือ เช่น ผักเข้าตอง ผักคาวตอง หรือผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน) และผักคาวปลา เป็นต้น ภาคกลางมีชื่อเรียก เช่น ผักคาวทอง และพลูคาว เป็นต้น             สรรพคุณในตำรับยาไทย             ต้น : ใช้รักษาโรคติดเชื้อและทางเดินหายใจ ฝีหนองในปอด ปอดบวม ปอดอักเสบ ไข้มาลาเรีย แก้บิด ขับปัสสาวะ ลดอาการบวมน้ำ นิ่ว ขับระดูขาว ริดสีดวงทวาร แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ฝีฝักบัว แผลเปื่อย ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แก้ไอ หลอดลมอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ             ราก : ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใบใช้แก้โรคบิด โรคผิวหนัง โรคหัด ริดสีดวงทวาร หนองใน             ใบ : ใช้รักษาโรคบิด หัด โรคผิวหนัง ริดสีดวงทวาร หนองใน ใช้ปรุงเป็นยาแก้กามโรค ทำให้แผลแห้งเร็ว แก้โรคข้อ และโรคผิวหนังทุกชนิด ทั้งต้นมีรสเย็นและฉุน ใช้เป็นยาแก้โรคบิด โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ไอ หลอดลมอักเสบ ฝีบวมอักเสบ ริดสีดวงทวาร หูชั้นกลางอักเสบ             ข้อมูลทางเภสัชวิทยา             1.ฤทธิ์ระงับปวด เร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ ห้ามเลือด รักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย             2.ฤทธิ์ขับปัสสาวะ พบสารฟลาโวนอยด์ที่แยกได้จากใบพลูคาวเป็นสาระสำคัญในการออกฤทธิ์             3.ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ น้ำมันหอมระเหยจากการกลั่นส่วนเหนือดินของพลูคาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอย่างแรงต่อเชื้อ Bacillus cereus และ B. Subtilis เชื้ออหิวาต์ Vibrio cholerae 0-1 และ V. Parahaemolyticus             4.ฤทธิ์ต้านไวรัส น้ำมันหอมระเหยจากพลูคาว ซึ่งประกอบด้วย n-decyl aldehyde, n-dodecyl aldehyde และ methyl-n-nonyl ketone สามารถยับยั้งการเจริญของไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ในหลอดทดลองได้             นอกจากนี้ยังมีผลต่อไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม 3 ชนิด ได้แก่ herpes simplex virus type-1 (HSV-1) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ และไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ (HIV-1) และไวรัสที่ปราศจากเปลือกหุ้ม 2 ชนิด คือ โปลิโอไวรัส และ คอกซากีไวรัส             จากการศึกษาองค์ประกอบในน้ำมันหอมระเหย จากส่วนเหนือดินของพลูคาวโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ พบว่าประกอบไปด้วยสารที่เป็นองค์ประกอบหลัก 3 ชนิดคือ capryl aldehyde, 2-undecanone และ lauryl aldehyde โดยปริมาณของสารในน้ำมันหอมระเหยที่พบในพลูคาวจากแต่ละท้องถิ่นนั้นมีองค์ประกอบเหมือนกัน แต่พบในสัดส่วนปริมาณที่แตกต่างกัน             ดังมีรายงานปริมาณของ capryl aldehyde และ lauryl aldehyde ที่พบในประเทศไทยมีปริมาณมากกว่าที่พบในประเทศญี่ปุ่น ส่วนพลูคาวที่ปลูกในประเทศญี่ปุ่นมีปริมาณของ 2-undecanone มากกว่าพลูคาวที่ปลูกในประเทศไทย การที่สารในน้ำมันหอมระเหยมีสัดส่วนของปริมาณที่แตกต่างกัน อาจเนื่องมาจากสภาพแวดล้อม พื้นที่ สภาพอากาศที่แตกต่างกัน             จากคุณสมบัติของพลูคาว ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการเกิดโรคต่างๆ ของคน จะเห็นว่าปัจจุบัน มีการนำพลูคาวมาผลิตเป็นอาหารเสริมกันมาก กล่าวอ้างสรรพคุณมากมาย อย่างไรก่อนจะบริโภคก็ขอให้พิจารณาให้ดีก่อนว่าเราจะรับประทานเพื่ออะไร    สนใจสินค้าหรือต้องการเป็นตัวแทนจำหน่ายติดต่อ  โทร. 083-0703921,0840404158  http://www.dsawan.com/ หรือ http://www.businessonline.tht.in/


 


ราคา: 850 บาทต้องการ: ขาย
ติดต่อ: 0830703921อีเมล์: 
โทรศัพย์: 0840404158IP Address: 223.204.15.18
มือถือ: 0840404158 จังหวัด: กรุงเทพมหานคร

คำค้น:  เปลือกมังคุดกับพลูคาวมีประโยชน์ต่างกันอย่างไร |



ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ

[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]